3
จุดการปรับแต่งเพื่อโมตู้เชื่อม...เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องเชื่อมให้ดีขึ้น
มีช่างเชื่อมหลายๆ คนที่กำลังคิดจะโมตู้เชื่อม
ไม่ว่าจะเป็นตู้เชื่อมี่ผ่านการใช้งานมาแล้ว และอยากจะเปลี่ยนระบบบางตัวใหม่
หรือต้องการโมตู้เชื่อมที่เป็นเครื่องใหม่ ราคาถูกแต่มีความแรงไม่พอ
ซึ่งการโมดิฟายตู้เชื่อมนี้หากเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ตู้เชื่อมในแบบที่ต้องการ
เพราะไม่ว่าจะโมตู้เชื่อมเพื่อเพิ่มกระแสไฟ เพิ่มความแรง
หรือเพิ่มชิ้นส่วนบางอย่างเข้าไปเพื่อให้มีการทำงานที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประเภทตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์
ที่ต้องการโมดิฟายก็สามารถนำมาดัดแปลงให้เป็นไปอย่างที่ต้องการได้
โมตู้เชื่อม
สำหรับเครื่องเชื่อมทั่วไป หากเปิดออกมาข้างในส่วนใหญ่จะพบกับวงจรที่อยู่ในแผ่นบอดร์ดเดียวกันเป็นลักษณะ
all in one โดยข้างในจะมีวงจรหลักๆ
สำหรับเป็นอุปกรณ์หลักอยู่ไม่กี่อย่างที่จะต้องโมตู้เชื่อม
จุดที่
1 สะพานไฟ
เป็นสะพานไฟนำกระแสทั้งขั้วบวกขั้วลบ
หากเป็นของเดิมๆ ที่มากับตัวเครื่องอาจจะเป็นแผ่นอลูมิเนียมที่มีความยาว 7-8 นิ้ว มีความบางไม่เกิน
2 มิล ซึ่ง ของเดิมที่เป็นอลูมิเนียมเมื่อเทียบกับทองแดงแล้วจะทำให้นำกระแสไฟไม่ค่อยดี
แต่หากโมตู้เชื่อมด้วยทองแดงนำกระแสได้ดีกว่า วิธีแก้ไขก็คือ การหาสายไฟประมาณเบอร์
6 หรือเบอร์ 8 ประมาณสัก 3-4 เส้นมาทำการเชื่อมต่อให้ขนานกัน ซึ่งเมื่อโมออกมาจะดีกว่าของเก่าแน่นอน
บางรุ่นอาจจะมีสะพานไฟอีกตัว ซึ่งอาจจะเป็นทองเหลืองตัวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนก็ได้
เสร็จแล้วให้แกะสายไฟเบอร์ 2.5 แล้วเชื่อมต่อขนานเข้าไป
ทำการบัดกรีเสริมเข้าไป จะทำให้นำกระแสไฟได้ดียิ่งขึ้น แค่นี้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วกับการโมตู้เชื่อมสำหรับสายไฟ
เพื่อปรับให้กระแสไฟทำงานได้ดีขึ้น
จุดที่
2 ปรับคาปาซิสเตอร์
เครื่องเชื่อมบางตัวอาจจะมีคาปาซิเตอร์
2 ตัวซึ่งส่วนใหญ่มีขนาด 400 โวลต์ โดยคาปาซิเตอร์อาจจะสำรองกระแสไฟได้ประมาณหนึ่ง
คือแค่ใช้งานได้ แต่ไม่สามารถสำรองกระแสไฟได้เยอะ เพราะหากเป็นรุ่นที่สำรองกระแสได้เยอะจะทำให้ราคาการผลิตสูงขึ้น
การโมตู้เชื่อมจุดที่สองคือ ลองหาคาปาซิเตอร์จากทีวีเก่าๆ ที่ทิ้งแล้วมาเสริม ยิ่งไมโครสูงๆ
ยิ่งดี แต่ต้องดูด้วยว่าการเลือกโวลต์ค่าแรงดันจะต้องไม่ต่ำกว่า 400 โวลต์ เมื่อได้คาปาซิเตอร์
แล้วก็จัดการนำมาต่อเชื่อมขนานกัน บวกเข้าบวก ลบเข้าลบได้ทันที ทำการบัดกรีเสริมเข้าไป
อย่าให้ผิดขั้ว ซึ่งการเลือกคาปาซิเตอร์ดีๆ ก็จะมีค่าความจุเยอะๆ
เพราะหากมีการใช้งานการเชื่อมมากเกินไปกับการใช้คาปาซิเตอร์รุ่นเดิมๆที่มีความจุน้อย
จะทำให้กระแสถูกดึงให้ลดฮวบลงไปจนหมดจากคาปาซิเตอร์ ซึ่งจะส่งผลทำให้กระแสชาร์จเข้าไม่ทัน
และหากใช้งานหรือใช้ไฟจากเครื่องเชื่อมมากเกินไป จะทำให้การเชื่อมสะดุดหรือกระตุกเชื่อมงานได้ไม่ต่อเนื่อง
เพราะนั่นคือเป็นการจ่ายกระแสไฟไม่ทัน ฉะนั้นก็ต้องหาทางโมตู้เชื่อมด้วยการเพิ่มความจุคาปาซิเตอร์ใหม่
ขนานเชื่อมต่อเข้าไปจะทำให้ไมโครจะเยอะขึ้น
จุดที่
3 ไดโอด
ไดโอด (diode)เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้ว
คือขั้ว p และขั้ว n ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า
ซึ่งมันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียวพร้อมกับทำการปิดกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม
โดยไดโอดส่วนใหญ่จะทำมาจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่สามารถนำมาต่อกันของขั้วไฟฟ้าทั้งสองขั้ว
เอามาต่อขนานเข้าไป ประมาณว่าหากของเดิมไดโอดเป็น
50 แอมป์ 1,000 โวลต์ เมื่อขนานเข้าไปสองตัวรวมกันก็จะทนกระแสได้ 100 แอมป์
ซึ่งแม้การทนกระแสจะเพิ่มขึ้นแต่ 1,000 โวลต์ ยังเหมือนเดิม
เพียงแต่การทนกระแสก็เพิ่มเป็นอีกหนึ่งเท่าตัวนั่นเอง
หลักๆ ก็มีการโมตู้เชื่อมตามจุดต่างๆ
ไมว่าจะเป็น สายไฟหรือสะพานไฟ คาปาซิเตอร์ ไดโอด ฯลฯ นอกจากนี้สายไฟ สายเชื่อม
ไม่ควรที่จะทำให้เป็นสายยาว ไม่เช่นนั้นจะทำให้กระแสยิ่งตกลงแล้วมันจะฟ้องว่าการเชื่อมไม่เสถียร
ซึ่งจะทำให้การเชื่อมไม่ต่อเนื่องนั่นเอง
การ ขนานIGBT เพิ่ม สามารถทำได้ไหมครับ
ตอบกลับลบได้ครับแต่ต้องใช้เบอร์เดียวกันมาขนานครับ.ผมลองทำแล้วได้ผลดีครับ
ลบ