5 ข้อควรรู้ของความผิดพลาดที่เกิดจากวิธีเชื่อมไฟฟ้าแบบผิดๆ
เชื่อว่าแม้หลายๆ
คนที่เป็นช่างเชื่อม จะมีความชำนาญในการเชื่อมชิ้นงานมากแค่ไหน
แต่ก็อาจจะเคยผิดพลาดจากวิธีเชื่อมไฟฟ้าแบบผิดๆ มาบ้าง ซึ่งวิธีเชื่อมไฟฟ้าเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อวัสดุที่ส่วนใหญ่เป็นโลหะ
สแตนเลส อลูมิเนียม และพลาสติกให้รวมตัวเข้าด้วยกัน
ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย
และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในแอ่งหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว
เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช้แรงดันร่วมกับความร้อน เพื่อให้เกิดรอยเชื่อมโดยมีแหล่งพลังงานหลายอย่างสำหรับนำมาใช้กับวิธีเชื่อมไฟฟ้า เพื่อให้ได้รอยเชื่อมที่มีความแข็งแรง
และแนวเชื่อมที่สมบูรณ์จะต้องมีเทคนิคในการทำงาน
เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดความผิดพลาดต่อไปนี้
1.เกิดฟองอากาศ
ฟองอากาศ(Porosity)จะเกิดจากแก๊สภายในแนวเชื่อม
หรือวัสดุที่โลหะงานที่ไม่สามารถวิ่งออกมาข้างนอกได้ เกิดขึ้นเพราะการเย็นตัวของโลหะ
ทำให้ส่งผลอาจจะเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรงกลม ทรงกระบอก ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอัตราการเย็นตัวของโลหะและอัตราความเร็วของแก๊ส
ซึ่งวิธีเชื่อมไฟฟ้าที่ผิดพลาดจะทำให้เกิดเป็นฟองอากาศที่ถือเป็นจุดเสียในงานเชื่อม
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะและทิศทางของแรง โดยสาเหตุอาจจะเกิดมาจากขบวนการวิธีเชื่อมไฟฟ้าแบบต่างๆ
หรืออาจเกิดจากเนื้อของโลหะที่เชื่อมไม่สะอาด แม้แต่ส่วนผสมของลวดที่เติมก็อาจไม่เหมาะสมกับโลหะงาน
ซึ่งฟองอากาศยังอาจเกิดออกซิเจนไฮโดรเจนได้ด้วย แต่หากเจอความร้อนจะทำให้ไฮโดรเจนอาจจะแตกร้าวที่แนวเชื่อมภายหลัง
2.การหลอมละลายไม่สมบูรณ์
วิธีเชื่อมไฟฟ้าที่ผิดพลาดอีกอย่างคือ
การหลอมละลายไม่สมบูรณ์ (Incomplete Fusion) เพราะเกิดมาจากเทคนิคการเชื่อมรวมทั้งการเตรียมรอยต่อไม่ถูกต้อง
ซึ่งการออกแบบวิธีเชื่อมไฟฟ้าไม่ดี,การให้ความร้อนไม่เท่ากันในขณะกำลังเชื่อมนอกจากนี้ยังอาจมีออกไซด์เกิดขึ้นในขณะหลอมละลาย
3.สารมลทินฝังใน
วิธีเชื่อมไฟฟ้าที่ผิดพลาดกันมากคือ
เกิดสารมลทินฝังใน (Slag
inclusion) ซึ่งเป็นการเกิดจาการรวมตัวของสารที่ไม่ใช่โลหะฝังอยู่ในแนวเชื่อมหรืออยู่ช่วงระหว่างแนวเชื่อมกับโลหะชิ้นงาน
โดยสามารถพบได้จากงานเชื่อมไฟฟ้า ที่เป็นผลมาจากความผิดพลาดทางด้านเทคนิควิธีเชื่อมไฟฟ้า หรือการออกแบบที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะชิ้นงานสกปรก
หรืองานปกติซึ่งจะทำให้สแล็กลอยขึ้นสู่ผิวหน้า แต่อาจจะถูกปิดกั้นโดยน้ำโลหะทำให้เกิดการฝังตัวอยู่ในแนวเชื่อม
4.รอยต่อไม่หลอมละลาย
วิธีเชื่อมไฟฟ้าแบบผิดๆ
อาจทำให้เกิดรอยต่อไม่หลอมละลาย (Incomplete penetration) ซึ่งเป็นลักษณะของการซึมลึกตรงรอยต่อที่ไม่เพียงพอ
โดยอาจจะเกิดจากการออกแบบไม่ถูกต้องหรือความร้อนที่ไม่เพียงพอ อย่างบริเวณรอยต่อที่มีความหนาเกินไป
ส่วนรอยต่อที่ต้องการเชื่อมให้ซึมลึกตลอดความหนา ก็อาจจะใช้วิธีเชื่อมไฟฟ้าด้วยการออกแบบให้เชื่อมข้างหลัง
แต่จะต้องทำการเซาะร่องหรือเจียระไนเสียก่อนหรืออาจจะออกแบบโดยใช้แผ่นประกอบหลัง
5.ทังสเตนฝังในรอยเชื่อม
ทังสเตนฝังในรอยเชื่อม
(Tungsten inclusion) เกิดจากทังสเตนที่ฝังอยู่ในรอยเชื่อมของกระบวนการเชื่อมทิก
(GTAW) โดยมีการใช้ทังสเตนเป็นตัวอาร์คกับชิ้นงานเพียงอย่างเดียว
และเป็นวิธีเชื่อมไฟฟ้าแบบไม่สิ้นเปลืองลวดเชื่อม ในทางปฏิบัตินั้นอาจมีการจุ่มทังสเตนลงในบ่อหลอมละลาย
หรือใช้กระแสไฟสูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ทังสเตนหักและฝังอยู่ในรอยเชื่อม เพราะหนักกว่าเหล็กและอลูมิเนียม
โดยจะเห็นเป็นสีขาวบนฟิล์มหากนำชิ้นงานไปตรวจสอบโดยใช้การถ่ายภาพรังสี
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น