การปรับกระแสตู้เชื่อมฉบับช่างเชื่อม
การเลือกใช้ตู้เชื่อมไฟฟ้า
ควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับงานและโครงสร้างหรือเลือกให้ตรงกับวัสดุในการผลิต มีคุณภาพและความคงทน
ซึ่งการเลือกใช้ตู้เชื่อมที่มีคุณภาพนั้นนอกจากการเลือกซื้อเบื้องต้นแล้ว ช่างเชื่อมที่ต้องใช้งานตู้เชื่อมเป็นประจำ
อาจจะต้องทำการปรับกระแสตู้เชื่อมขึ้นมาเพื่อให้มีความเปลี่ยนแปลงของตู้ในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากจะเลือกตู้ให้เหมาะกับประเภทของงานเชื่อมแล้ว
การปรับกระแสตู้เชื่อมให้กับตู้เชื่อมที่ใช้เป็นประจำก็สำคัญไม่น้อยซึ่งถือเป็นการพัฒนาตู้เชื่อมไฟฟ้าให้สามารถเชื่อมงานได้ประณีตมากขึ้นและลดขั้นตอนในการผลิตชิ้นงานด้วย
เหตุผลที่ต้องทำการปรับกระแสตู้เชื่อม
ตู้เชื่อมไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับช่างเชื่อม
ที่สามารถใช้งานจากการเชื่อมด้วยไฟฟ้า ซึ่งสามารถเชื่อมได้ทั้งเหล็ก อะลูมิเนียม สแตนเลส
โลหะบาง-หนา และวัสดุต่างๆ
แต่บางครั้งช่างเชื่อมอาจจะเลือกซื้อตู้เชื่อมในแบบราคาถูกมา
หรือไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ หากเป็นช่างระดับมืออาชีพก็จะสามารถทำการปรับกระแสตู้เชื่อมให้ใช้งานได้ดีขึ้น
เร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อชิ้นงานที่ออกมาสวยงามอีกด้วย ซึ่งการปรับกระแสตู้เชื่อมเป็นการปรับตั้งกระแสไฟฟ้าเชื่อม
ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของแนวเชื่อม โดยมีข้อควรพิจารณาคือ
· การปรับกระแสตู้เชื่อม เป็นการปรับกระแสไฟในการเชื่อมที่สามารถปรับได้
2 ลักษณะ คือ ปรับเพิ่ม และปรับลด
· การปรับกระแสตู้เชื่อม เป็นการปรับกระแสไฟเชื่อมสูง
ที่จะทำให้การอาร์ครุนแรงและแนวเชื่อมเสียหาย
· การปรับกระแสตู้เชื่อม เป็นการปรับกระแสไฟเชื่อมสูงหรือต่ำ
โดยจะต้องคำนึงถึงความหนาของวัสดุงานเชื่อมทุกครั้ง
· การปรับกระแสตู้เชื่อม เป็นการใช้กระแสไฟเชื่อมต่ำ
ที่จะทำให้เกิดการดูดติดของลวดเชื่อมกับชิ้นงาน
ข้อควรรู้เมื่อทำการปรับกระแสตู้เชื่อม
การเชื่อมโลหะต่างๆ จากการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
หากช่างเชื่อมที่มีความชำนาญในการเชื่อมหรือมีประสบการณ์การเชื่อมงานต่างๆ มานาน
ส่วนใหญ่มักจะมีขั้นตอนที่ไม่สามารถมองข้ามได้ก็คือ การปรับกระแสตู้เชื่อม หรือการปรับระดับกระแสของเครื่องเชื่อมไฟฟ้า
ซึ่งปัจจัยที่กำหนดระดับการปรับกระแสไฟฟ้าเครื่องเชื่อมคือ ลักษณะงาน, ความหนาของชิ้นงาน
และชนิดของลวดเชื่อม เพราะหากมีการปรับกระแสตู้เชื่อมที่สูงเกินไปจะทำให้บ่อหลอมละลายกว้างและลึกไม่สม่ำเสมอ
ทำให้มีการควบคุมแนวเชื่อมได้ยาก และส่งผลให้เกิดรอยแหว่งที่ขอบรอยเชื่อมหรือที่เรียกว่า
Undercut
แต่หากมีการปรับกระแสตู้เชื่อมที่ต่ำเกินไปจะทำให้เกิดรอยนูนบริเวณขอบรอยเชื่อม
ทั้งนี้ก็เพราะว่าลวดเชื่อมกับชิ้นงานไม่สามารถหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
โพสต์ความคิดเห็น